HomeบทความPending Order - Market Order ใน MT4 คืออะไร

Pending Order – Market Order ใน MT4 คืออะไร

-

เมื่อเราวิเคราะห์จนตัดสินใจได้ว่าจะทำการซื้อ (Buy) หรือ ขาย (Sell) ในสินค้าหรือคู่เงินนั้นๆแล้ว การส่งคำสั่งซื้อขายใน MT4 ก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการเทรด เราจำเป็นต้องรู้จักประเภทของออร์เดอร์แบบต่างๆที่เราสามารถส่งได้ใน MT4 เพื่อเสริมให้เรามีกลยุทธ์ในการเทรดที่หลากหลายมากขึ้นด้วย เทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยครับ

เมื่อกดปุ่ม F9 ใน MT4 จะมีหน้าต่างส่งคำสั่งซื้อขาย สามารถเลือกประเภทออร์เดอร์ได้

ประเภทของ Order ใน MT4 แบ่งออกเป็นหลักๆได้ 2 ประเภทดังนี้ครับ

1.Market Execution / Market Order คือ การส่งคำสั่งซื้อขายทันที ณ ราคาตลาด (Market Price) เวลานั้นๆเลย หากเป็น Buy Order ก็จะได้ราคาที่ Offer (Ask) เวลานั้น ส่วน Sell Order ก็จะได้ที่ราคา Bid ณ เวลานั้นทันที

2.Pending Order คือ การส่งคำสั่งว่าต้องการรอ (pending) เข้าซื้อขายที่ระดับราคาใดราคาหนึ่งๆที่ไม่ใช่ราคาตลาด เนื่องราคาตลาดตอนนี้ยังไม่ใช่จุดที่เหมาะสมในการเข้าตามกลยุทธ์ที่ออกแบบไว้ และเมื่อถึงเวลาที่ราคาตลาดขยับมาเท่ากับระดับราคาที่วางไว้ เราก็จะได้เข้าออร์เดอร์ตามที่วางแผนไว้ทันที โดยไม่ต้องเฝ้าหน้าจอตลอดเวลา

สำหรับ Pending Order นั้นยังแบ่งออกเป็นหลักๆ ได้ 2 ประเภท คือ Stop Order และ Limit Order

Stop Order : (เบรคแล้วเข้า) ใช้ในกรณีที่ต้องการให้ราคาตลาดมีการ break ระดับราคาที่ต้องการเข้าออร์เดอร์

ตัวอย่าง Buy Stop – จากรูปด้านล่าง มีการส่งคำสั่ง Buy Stop ที่ราคาประมาณ1.09900 อาจด้วยมองว่าเป็นแนวต้านที่คาดว่าถ้ามีการเบรกระดับราคานี้ได้ อาจจะขึ้นต่อได้ เมื่อราคาถึงระดับราคาที่กำหนด สถานะออร์เดอร์จะเป็นจาก buy stop เป็น buy ตามภาพ

ตัวอย่าง Sell Stop – เมื่อราคามีการสร้างกรอบแนวรับที่ชัดเจน และวางแผนการเทรดว่าหากทะลุแนวรับที่ประมาณ 1.11250 จะทำการ sell จึงวาง Sell Stop ใต้แนวรับดังกล่าว และเมื่อราคาขยับลงแตะระดับราคาที่ตั้งไว้ สถานะ pending order จาก Sell Stop จะเปลี่ยนเป็น Sell ทันที

Limit Order : (ย่อแล้วเข้า) ใช้ในกรณีที่ต้องการให้ราคาตลาดมีย่อตัวกลับมาถึงระดับราคาใดที่ต้องการเข้าออร์เดอร์

ตัวอย่าง Buy Limit – จากภาพ ราคาป้จจุบันอยู่ด้านบน ประมาณ 1.10800 แต่วางแผนต้องการให้ที่จะเข้า ฺBuy ที่ระดับราคาด้านล่าง ประมาณ 1.10020 จึงส่งคำสั่ง Buy Limit ที่ระดับราคา 1.10020 และเมื่อราคาขยับร่วงลงมาจน ราคา Ask ถึง 1.10020 จึงได้เข้า Buy ที่ระดับราคาที่ตั้งไว้โดยไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ

ตัวอย่าง Sell Limit – จากภาพกรอบสีเหลืองมองเป็นแนวรับ ที่ดูมีนัยยะ แต่ด้วยแผนการเทรดอาจจะมองว่าให้ราคาทะลุแนวรับนี้ก่อน แล้วค่อย Sell เมื่อราคาย้อนกลับขึ้นมาทดสอบแนวที่เพิ่งเบรกลงมานี้ จึงมีการวาง Sell Limit ที่ระดับประมาณ 1.13510 (แนวสีเหลือง) หลังจากที่ราคาทะลุแนวรับลงมาแล้วตามภาพ และเมื่อราคาย้อนขึ้นมาถึงระดับที่วางไว้ จึงเกิดออร์เดอร์ Sell ตามที่วางแผนไว้ทันที

แม้ว่า Pending Order แบบต่างๆที่เล่าให้ฟังนี้จะช่วยให้เราเทรดได้สะดวกแผนที่วางไว้โดยไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ แต่ก็มีข้อจำกัด อย่างในกรณีที่ราคามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากๆเช่นช่วงที่มี Event สำคัญต่างๆ เราอาจไม่ได้ราคาตามที่เรากำหนดไว้นะครับ

อีกข้อจำกัดนึง คือ เราไม่สามารถวาง pending order โดยให้ใกล้กับราคาปัจจุบันได้มากนัก โดยแต่โบรกเกอร์จะมีกำหนดค่าที่เรียกว่า Stops Level ซึ่งคือระยะห่างอย่างน้อยกี่จุดที่ต้องห่างจากราคาตลาด ถึงจะยอมให้วาง pending order ได้ครับ

ในแต่ละคู่เงิน จะมี Stops Level ที่แตกต่างกัน เราสามารถดู Stops Level ของคู่เงินที่ต้องการเทรดในโบรกเกอร์ของเราใช้บริการได้ใน MT4 โดยเปิดหน้าต่าง Market Watch แล้วคลิ๊กขวาที่คู่เงินที่ต้องการ และเลือก Specification จะมีหน้าต่าง Contract Specification ของคู่เงินนั้นๆให้เราดู ซึ่งจะมีค่า Stops Level ในนั้นด้วย สามารถดูภาพประกอบด้านล่างได้ครับ

การดู Stops Level ในคู่เงินต่างๆ ภายใน MT4

ถึงจุดนี้คิดว่าทุกคนจะเข้าใจประเภทของออร์เดอร์ทั้งหมดใน MT4 และสามารถนำไปใช้ให้เหมาะสมกับแผนการเทรดของตัวเองได้แล้วนะครับ หากคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากแชร์ต่อให้เป็นกำลังใจกันด้วยนะครับ

=====================================================

เปิดบัญชีเทรด : Exness

เปิดบัญชีเทรด : XM

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

LATEST POSTS

สั่ง Close All ผ่าน Telegram ด้วย RT_CloseBy | Free EA CloseAll MT4

https://www.youtube.com/watch?v=PR61U9Qt1dY Download RT_CloseBy MT4 v2.3 📌 เพื่อนๆสามารถสนับสนุนช่อง RookieTraders ได้ผ่านการเปิดบัญชีเทรดตามลิงค์ด้านล่างนี้นะครับ- เปิดบัญชีเทรดกับ Exness - เปิดบัญชีเทรดกับ XM - เปิดบัญชีเทรดกับ FBS

Reward Risk Ratio (RR) คืออะไร คำนวณยังไง เทรดด้วย RR สูงดีไหม ต้องระวังอะไร?

Reward Risk Ratio หรือ RR เป็นสิ่งทีเทรดเดอร์ทุกคนควรให้ความสำคัญ เพราะการจะคิดคำนวณ RR ออกมาได้แสดงว่าเราได้คิดไว้แล้วว่าความเสี่ยงเราอยู่ตรงไหน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆในการเทรดทุกครั้ง (Risk Managment ) การคำนวณหาค่า RR ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแค่นำผลตอบแทนที่เราคาดหวัง เทียบกับ ความเสี่ยงที่จะขาดทุน ก็จะได้เป็นอัตราส่วนค่าหนึ่ง หลายคนใช้ประโยชน์ในแง่ของการวัดความคุ้ม ว่าคุ้มพอไหมที่จะเทรดในสัญญาณการเข้าเทรดที่เกิดขึ้น แต่หากเราจะมองว่า RR สูงคือความคุ้มค่ามาก...

Follow us

0FansLike
10,340SubscribersSubscribe

Most Popular