HomeบทความMargin คืออะไร ? Leverage คืออะไร ? สิ่งสำคัญกับการเทรดที่มือใหม่ควรรู้

Margin คืออะไร ? Leverage คืออะไร ? สิ่งสำคัญกับการเทรดที่มือใหม่ควรรู้

-

เคยได้ยินคนเค้าพูดกันไหมครับว่า เทรด Forex อะใช้เงินเริ่มต้นไม่ต้องมาก ก็เทรดได้ ทำกำไรได้ เป็นร้อยเป็นพันเหรียญ” ข้อความข้างต้นนี้มีข้อเท็จจริงส่วนนึงที่ผมอยากจะมาขยายให้เข้าใจกัน ที่บอกว่า “ใช้เงินเริ่มต้นไม่มาก” นั้น สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับคำว่า Margin และ Leverage โดยตรง ลองมาทำความเข้าใจให้ถูกต้องกันก่อนไปเทรดจริงนะครับ

เมื่อเราฝากเงินแข้าบัญชีเทรดเรียบร้อยแล้วนั้น ยอดตัวเงินในบัญชีเทรดของเราจะแสดงที่ยอด Balance และยอด Equity ในโปรแกรม MT4 และเมื่อไรที่เราทำการเปิดออร์เดอร์ ไม่ว่าจะ buy หรือ sell ทางโบรกเกอร์จะมีการกันเงินประกันสำหรับออร์เดอร์นั้นๆ เงินประกันที่ว่านี้ก็คือ Margin นั่นเอง หรือเรียกอีกอย่างว่า Used Margin (Margin ที่ถูกใช้แล้ว)

Margin คือเงินประกันเพื่อเปิดออร์เดอร์

สำหรับเงินส่วนที่เหลือจากการกัน Used Margin ออกไปแล้ว จะเรียกว่า Free Margin

Free Margin = Equity – Used Margin

แล้วเราจะสามารถเปิดออร์เดอร์เพิ่มได้หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่า เราเหลือ Free Margin มากพอที่จะถูกกัน Margin เพิ่มหรือไม่ หาก Free Margin มีน้อยกว่า Margin ที่ต้องใช้ในการเปิดออร์เดอร์เพิ่ม ก็ไม่สามารถเปิดออร์เดอร์ได้ครับ

นอกจากนี้ Free Margin ยังบอกเราได้อีกว่า หากออร์เดอร์ที่เราเปิดอยู่นั้น เกิดผิดทาง พอร์ตเราจะสามารถรองรับการผิดทางนี้ได้ถึงจุดไหนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ Margin Call และ Stop Out

เมื่อไรก็ตามที่เราปิดออร์เดอร์ เงินประกันที่ถูกใช้ไป (Used Margin) นี้ก็จะคืนกลับมา Free Margin ก็เพิ่มกลับมานั่นเองครับ

Leverage คืออะไร

Leverage คือ สัดส่วนระหว่างมูลค่าสินค้าที่ต้องการเทรด : เงินวางประกัน

ยกตัวอย่างง่ายๆว่า ถ้าเราต้องการเทรดสินค้าชนิดหนึ่งที่ มูลค่า 1,000,000 บาท และถูกเรียกให้วางเงินประกัน (Margin) จำนวน 100,000 บาท ในกรณีนี้ Leverage ที่ใช้ คือ 1,000,000 : 100,000 หรือ ก็คือ 10:1 นั่นเอง

ในกรณีที่วางเเงินประกันเป็นเงินเต็มจำนวนเท่ากับมูลค่าสินค้า Leverage ที่ใช้ก็คือ 1 : 1 ซึ่งก็หมายถึงไม่มีการใช้ Leverage (non-leverage) นันเอง

ถ้าหากใช้ Leverage ที่ 100 : 1 จากตัวอย่างข้างต้น ก็จะถูกเรียกวาง Margin หรือเงินประกันเหลือเพียง 10,000 บาท เท่านั้น เพื่อการเทรดสินค้า 1,000,000 บาท

นั่นหมายความว่า ยิ่งใช้ค่า Leverage ที่มากขึ้น เช่น 200:1 , 400:1 หรือ 1000:1 เงินที่ต้องวางประกัน (Margin) ก็จะลดลงมากด้วยเช่นกัน

Leverage ยิ่งสูง Margin ที่ต้องใช้ก็จะยิ่งต่ำ

เราสามารถกำหนด ค่า Leverage ที่ต้องการใช้ได้ บางโบรกเกอร์ให้กำหนดตอนเปิดบัญชี บางโบรกเกอร์ มีเมนูให้ปรับแก้ได้ตลอดครับ

และนี่คือสาเหตุที่คนมักพูดกันว่า “มีเงินไม่มากก็เทรด forex ได้ ” เพราะ Forex โบรกเกอร์เค้าอนุญาตให้เราใช้ Leverage ได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

หากตั้ง Leverage ไว้สูง Margin ที่ต้องใช้ในการเปิดออร์เดอร์ก็จะน้อย ส่งผลให้เทรดเดอร์สามารถเปิดออร์เดอร์ได้มากขึ้น แต่ตรงจุดนี้ก็เป็นดาบสองคม เพราะการเปิดออร์เดอร์มากเกินไป เกินกว่าที่เงินในพอร์ตจะรองรับกับการผันผวนระยะสั้นได้ไหว หากราคามีการขยับผิดทางกับที่เราเก็งไว้เพียงเล็กน้อยก็อาจจะทำให้ขาดทุนจนเงินหายหมดพอร์ตเลยทีเดียว

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

LATEST POSTS

Reward Risk Ratio (RR) คืออะไร คำนวณยังไง เทรดด้วย RR สูงดีไหม ต้องระวังอะไร?

Reward Risk Ratio หรือ RR เป็นสิ่งทีเทรดเดอร์ทุกคนควรให้ความสำคัญ เพราะการจะคิดคำนวณ RR ออกมาได้แสดงว่าเราได้คิดไว้แล้วว่าความเสี่ยงเราอยู่ตรงไหน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆในการเทรดทุกครั้ง (Risk Managment ) การคำนวณหาค่า RR ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแค่นำผลตอบแทนที่เราคาดหวัง เทียบกับ ความเสี่ยงที่จะขาดทุน ก็จะได้เป็นอัตราส่วนค่าหนึ่ง หลายคนใช้ประโยชน์ในแง่ของการวัดความคุ้ม ว่าคุ้มพอไหมที่จะเทรดในสัญญาณการเข้าเทรดที่เกิดขึ้น แต่หากเราจะมองว่า RR สูงคือความคุ้มค่ามาก...

คำนวณ Position Size เพื่อ Money Management | หา Lot Size สำหรับการเทรด Forex

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการเทรด ไม่ว่าจะเทรดสินค้าอะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ระบบเทรดขั้นเทพ แม่นยำอย่างกับเทพลงมาจุติ แต่เป็นเรื่องการการจัดการการเงินในการเทรด หรือที่เรียกว่า Money Management หรือ หลายคนเรียกว่า MM การให้ความสำคัญกับ Money Management จะทำให้การเทรดของเราอยู่รอดได้แม้ภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวยกับระบบเทรดของเราจนเกิดภาวะที่เรียกว่า drawdown และการคำนวณหา Position Size เป็นส่วนหนึ่งใน Money Management ที่เพื่อนๆเทรดเดอร์มือใหม่หรือมือเก๋าทุกๆคนควรเรียนรู้ ทำความเข้าใจ...

Follow us

0FansLike
9,070SubscribersSubscribe

Most Popular