HomeบทความAverage True Range : ATR - การใช้งาน ATR เพื่อเทรดในภาวะตลาดที่ผันผวน

Average True Range : ATR – การใช้งาน ATR เพื่อเทรดในภาวะตลาดที่ผันผวน

-

Average True Range (ATR) ถูกพัฒนาขึ้นโดย J. Welles Wilder โดยเค้าได้พูดถึง ATR ครั้งแรกในหนังสือของเค้าที่ชื่อว่า New Concepts In Technical Analysis System (1978) ในหนังสือเล่มนี้ยังมีการพูดถึง indicator อีกหลายตัวที่เค้าพัฒนาเช่น RSI, Parabolic SAR, ADX เป็นต้น สำหรับ ATR เป็น Volatility indicator ใช้ในการวัดค่า Volatility หรือความผันผวนของราคาในช่วงเวลาที่กำหนด Volatility ที่สูง หมายถึงช่วงเวลานั้นมีการผันผวนของราคามาก , Volatilty ที่ต่ำ หมายถึงช่วงเวลานั้นๆมีการผันผวนของราคาที่น้อย

ATR คำนวณยังไง?

มารู้จัก True Range (TR) กันก่อน มันคืออะไร ??

โดยปกติถ้าพูดถึง range ของราคาใน 1 แท่งเทียน เราจะนึกถึง High-Low ซึ่งก็ถูกต้อง และก็ถือเป็น True Range แบบนึงได้

แต่ในกรณีปกติที่มีการกระโดดเปิด gap ระหว่างราคาเปิดแท่งปัจจุบัน กับราคาปิดแท่งก่อนหน้า การหา True Range จะคำนึงถึง gap ที่เปิดด้วย แล้วดูว่า Range แบบ High-Low ปกติ หรือ Range แบบที่คิด gap ด้วย อันไหนให้ค่า Range ที่มากกว่ากัน ก็จะเอาค่าที่มาก เป็น True Range ถ้าอ่านแล้วงง ลองดูรูปประกอบนะครับ

เมื่อได้ True Range ของแต่ละแท่งแล้ว ก็นำมาหาค่าเฉลี่ยในช่วงเวลาที่กำหนด (ค่าดั้งเดิมของ Wilder คือ 14) หน้าตาสูตรการคำนวณ ATR เป็นดังนี้ครับ

สูตรคำนวณ ATR :

Current ATR = [(Prior ATR x 13) + Current TR] / 14

ให้รู้จักหน้าตาสูตรไว้สักนิด แต่ขอไม่ลงรายละเอียดมากละกันนะครับ แค่อยากให้เพื่อนๆเข้าใจแก่นของมันคือการพยายามหากรอบการเคลื่อนไหวของราคาในแต่ละแท่งราคา ซึ่งก็คือ True Range แล้วนำ True Range แต่ละแท่งมาหาค่าเฉลี่ยจนได้ Average True Range หรือ ATR นั่นเอง ดังนั้น ATR จึงช่วยในการวัด Volatility หรือวัดความผันผวนของราคาในช่วงเวลาที่กำหนดได้อย่างดี

การใช้งาน ATR

ATR เป็นอินดิเคเตอร์ที่ไม่สามารถบอกทิศทางของราคาได้ ไม่ว่า ATR จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ไม่สามารถเอาข้อมูลเหล่านี้วิเคราะห์หาทิศทางแนวโน้มราคาได้เลย แล้วมันจะมีประโยชน์อย่างไร ??

ATR เป็น volatility indicator ที่นิยมใช้กันอย่างมากในแง่ การจัดการการเทรด เช่น การวาง initial stop loss อย่างเหมาะสมกับสภาพตลาดช่วงนั้นๆ โดยปกติจะวางเป็นจำนวน N เท่าของ ATR เช่น 3 เท่าของ ATR เป็นต้น การวาง Stop ให้สอดคล้องกับ Volatility จะช่วยให้เราไม่วาง stop loss แคบจนเกินไป จนโดน stop ออกซะก่อนที่จะวิ่งไปตามทิศที่เราเก็งไว้ และเมื่อ initial stop loss แปรตามสภาพตลาดขณะนั้น ก็ส่งผลให้ต้องมี Money management ที่เหมาะสม มีการคำนวณ position size ให้ risk คงที่ทุกๆไม้

นอกจากนี้ยังนิยมใช้ ATR ในการ trailing stop เพื่อให้การปรับเลื่อน stop มีความ dynamic สอดคล้องไปกับ Volatility ของตลาดในเวลานั้นๆ

เนื่องจากค่าของ ATR คำนวณจากราคาของสินค้านั้นๆตรงๆ ดังนั้น สินค้าที่มีราคาสูง ย่อมมีค่า ATR ที่สูงกว่า สินค้าที่มีราคาต่ำ – ดังนั้นเราไม่สามารถนำค่า ATR ของสินค้าที่ต่างกันมาเปรียบเทียบกันตรงๆได้ แต่สิ่งที่อาจจะเอามาใช้ประโยชน์ได้หากต้องมีการเทรดหลายสินค้า คือ ช่วยในการปรับสัดส่วน position size ในการเทรดสินค้าต่างๆให้ risk ยังคงใกล้เคียงเดิม เช่น หากสินค้าที่มี Volatility สูง ก็ควรเทรดด้วย size ที่ลดลง กว่าตอนที่เทรดในสินค้าที่มี Volatility ต่ำ เพื่อให้ risk ในการเทรดแต่ละสินค้าพอๆกัน

โดยสรุป ATR เป็น volatility indicator ตัวหนึ่งที่คนที่เริ่มต้นเทรดควรเรียนรู้และประยุกต์ใช้ในกลยุทธ์การเทรดของตัวเอง เพราะมันจะช่วงการเรื่อง risk management และ money managment ได้อย่างดี ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้พอร์ตของเรานั้นอยู่รอด ในตลาดที่ผันผวนเช่นนี้

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

LATEST POSTS

สั่ง Close All ผ่าน Telegram ด้วย RT_CloseBy | Free EA CloseAll MT4

https://www.youtube.com/watch?v=PR61U9Qt1dY Download RT_CloseBy MT4 v2.12 📌 เพื่อนๆสามารถสนับสนุนช่อง RookieTraders ได้ผ่านการเปิดบัญชีเทรดตามลิงค์ด้านล่างนี้นะครับ- เปิดบัญชีเทรดกับ Exness - เปิดบัญชีเทรดกับ XM - เปิดบัญชีเทรดกับ FBS

Reward Risk Ratio (RR) คืออะไร คำนวณยังไง เทรดด้วย RR สูงดีไหม ต้องระวังอะไร?

Reward Risk Ratio หรือ RR เป็นสิ่งทีเทรดเดอร์ทุกคนควรให้ความสำคัญ เพราะการจะคิดคำนวณ RR ออกมาได้แสดงว่าเราได้คิดไว้แล้วว่าความเสี่ยงเราอยู่ตรงไหน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆในการเทรดทุกครั้ง (Risk Managment ) การคำนวณหาค่า RR ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแค่นำผลตอบแทนที่เราคาดหวัง เทียบกับ ความเสี่ยงที่จะขาดทุน ก็จะได้เป็นอัตราส่วนค่าหนึ่ง หลายคนใช้ประโยชน์ในแง่ของการวัดความคุ้ม ว่าคุ้มพอไหมที่จะเทรดในสัญญาณการเข้าเทรดที่เกิดขึ้น แต่หากเราจะมองว่า RR สูงคือความคุ้มค่ามาก...

Follow us

0FansLike
10,340SubscribersSubscribe

Most Popular